บริการแปลภาษาเวียดนาม

เพิ่มคุณค่าแบรนด์ของคุณในประเทศเวียดนามด้วยประสบการณ์อันล้ำค่าและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในทุกช่องทางการสื่อสาร

โลคัลไลเซชันภาษาเวียดนาม

การทำโลคัลไลเซชันภาษาเวียดนามในปัจจุบันยังมีความท้าทายสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ แม้ว่าภาษาเวียดนามจะใช้แบบยูนิโคดเป็นหลัก แต่ก็ยังมีการใช้แบบอื่นอยู่ด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์และแก้ไขตั้งแต่เริ่มงานเพื่อป้องกันปัญหาในภายหลัง

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความแตกต่างระหว่างภาษาถิ่นในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้อีกด้วยทำให้การแปลไปเป็นภาษาเวียดนามต้องใช้การเลือกคำและไวยากรณ์ที่เข้ากับหัวข้อที่เกี่ยวข้องและกลุ่มผู้อ่านเป้าหมาย ลักษณะนี้จะเหมือนกับกรณีของงานพากย์เป็นภาษาเวียดนามที่ต้องใช้ความใส่ใจระมัดระวังเป็นพิเศษ ภาษาถิ่นหลัก ๆ ทั้งสามจะมีการใช้แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของประเทศเวียดนามทำให้การเลือกนักพากย์จำเป็นต้องใช้ความใส่ใจเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

การแปลภาษา

  • ตรวจแก้ไขงาน
  • พิสูจน์อักษร
  • พัฒนาเอนจินโปรแกรมแปลภาษา
  • ตรวจแก้ไขงานแปลหลังการแปลด้วยโปรแกรมแปลภาษา
  • ออกแบบสิ่งพิมพ์
  • การพากย์เสียงและพากย์เสียงทับ
  • การทำคำบรรยายและคำบรรยายแบบปิด
  • การโลคัลไลเซชันเนื้อหา Flash และมัลติมีเดีย
  • การทดสอบเชิงภาษา
  • การทดสอบเชิงการใช้งาน
  • ล่าม

งานด้านผลิตภัณฑ์

  • เอกสาร
  • คู่มือด้านเทคนิค
  • สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับการตลาด
  • โบรชัวร์และแผ่นพับ
  • ฉลากและบรรจุภัณฑ์
  • นิตยสารและจดหมายข่าวสาร
  • เว็บไซต์
  • แอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือ
  • ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน
  • สื่อสำหรับการฝึกอบรมและอีเลิร์นนิ่ง
  • การพากย์เสียงและมัลติมีเดีย
  • เนื้อหาวิดีโอ

เกี่ยวกับภาษาเวียดนาม

ภาษาเวียดนามจัดอยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมรของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ซึ่งมีอีกสองภาษาที่สำคัญที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันคือภาษาเขมรและภาษามอญ ทว่าคำศัพท์ภาษาเวียดนามส่วนมากจะมีการยืมมาจากภาษาจีนเนื่องจากประเทศจีนได้เข้ามาปกครองเวียดนามตั้งแต่ 111 ปีก่อนปี ค.ศ. จนถึงปี ค.ศ. 939 หลังประเทศเวียดนามได้รับเอกราชจากประเทศจีนแล้ว ก็ยังมีการใช้ภาษาจีนเป็นภาษาราชการมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีประเทศฝรั่งเศสเข้ามาแทนในช่วงยุคล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส กว่าภาษาเวียดนามจะกลายมาเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนามได้ก็คือตอนที่ประเทศเวียดนามได้รับเอกราชจากประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1954

หลังจากได้รับเอกราชจากประเทศจีน คนเวียดนามได้เริ่มมีการเขียนโดยใช้ตัวอักษรจื๋อโนมที่มีการดัดแปลงมาจากตัวอักษรภาษาจีน โดยตัวอักษรจื๋อโนมมีตัวอักษรกว่า 3,000 ตัวที่ไม่มีในภาษาจีน ในช่วงศตวรรษที่ 17 ได้มีมิชชันนารีของนิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแพร่ตัวอักษรที่อิงจากภาษาละตินโดยใช้ชื่อว่าตัวอักษรก๊วกหงือ ระหว่างถูกปกครองโดยประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1910 ได้มีการกำหนดให้ใช้ตัวอักษรก๊วกหงือเป็นตัวอักษรทางการเวลาใช้เขียนภาษาเวียดนาม ในปัจจุบันนี้งานเขียนที่ใช้ตัวอักษรก๊วกหงือถูกเก็บไว้แค่ภายในแวดวงของนักวิชาการและนักสะสมโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งเท่านั้น

ตัวอักษรภาษาเวียดนามสมัยใหม่จะประกอบด้วยสระ 12 ตัว ( A a A a  â E e Ê ê I i O o Ô ô O o U u U u Y y ) และพยัญชนะ 17 ตัว ( B b C c D d Ð d G g H h K k L l M m N n P p Q q R r S s T t V v X x ) นอกจากนั้นจะมีเครื่องหมายกำกับเสียงสระในรูปแบบวรรณยุกต์อีก 5 ตัว* (À à Ẩ ẩ à ã Á á Ậ ậ ) ภาษาเวียดนามจะเขียนจากทางซ้ายไปขวาโดยมีวรรคตอนระหว่างคำและใช้เครื่องหมายวรรคตอน (นอกเหนือจากอะพอสทรอฟี) ที่คล้ายกันกับภาษาอังกฤษ

โดยทั่วไปแล้วภาษาเวียดนามถือว่ามีภาษาถิ่นหลัก ๆ ตามภูมิภาคอยู่สามภาษา คือภาษาเหนือ ภาษากลาง และภาษาใต้ หลัก ๆ แล้วภาษาถิ่นจะต่างกันในเรื่องของการออกเสียง และยังมีความต่างในเรื่องคำศัพท์และไวยากรณ์อีกด้วย ซึ่งภาษาถิ่นภาคเหนือถือเป็นทำเนียบภาษาระดับสูงของภาษาเวียดนาม

* ด้วยเหตุผลทางเทคนิคเราจึงจำเป็นต้องใส่รวมกับสระ A เพื่อให้แสดงผลได้อย่างถูกต้องในเบราว์เซอร์ทุกชนิด

ความท้าทายของการแปลและการโลคัลไลเซชันภาษาเวียดนาม

  • การทำ DTP ภาษาเวียดนามจำเป็นต้องใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่สามารถเรนเดอร์ตัวอักษรที่อาจมีเครื่องหมายกำกับเสียงเป็นตัวยกสองตัวได้ หรือไม่ก็เป็นตัวยกหนึ่งตัวกับตัวห้อยอีกหนึ่งตัว
  • แม้ว่าเอกสารส่วนมากจะมีการเข้ารหัสยูนิโคดในรูปแบบ UTF-8 ก็ตาม แต่ก็ยังมีเอกสารที่มีการเข้ารหัสไม่อิงตามรูปแบบยูนิโคดหรือแบบ 1 ไบต์หลงเหลืออยู่ เช่น TCVN3 VNI และ VISCII
  • เพราะความต่างระหว่างภาษาถิ่นในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ทำให้การแปลไปเป็นภาษาเวียดนามต้องใช้การเลือกคำและไวยากรณ์ที่เข้ากับหัวข้อที่เกี่ยวข้องและผู้อ่านที่เป็นเป้าหมาย
  • ในส่วนของการบันทึกเสียงพากย์แล้ว ด้วยความต่างอย่างมากในการออกเสียงของภาษาถิ่นหลัก ๆ ทั้งสามทำให้การเลือกนักพากย์ต้องเป็นไปตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แต่ถ้าเป็นกรณีกลุ่มลูกค้าระดับประเทศโดยปกติแล้วจะใช้ผู้พูดที่ใช้ภาษาเหนือเป็นหลัก