บริการแปลภาษาพม่า

เพิ่มคุณค่าแบรนด์ของคุณในประเทศเมียนมาด้วยประสบการณ์อันล้ำค่าและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในทุกช่องทางการสื่อสาร

โลคัลไลเซชันภาษาพม่า

หลังจากอยู่ในความสันโดษมานานหลายปี ในที่สุดประตูสู่เมียนมาก็ได้เปิดกว้างต้อนรับทุกคน พร้อมการลงทุนมากมายที่หลั่งไหลเข้ามาจากทั่วทุกมุมโลก และเมื่อโอกาสมาถึงแล้ว หนึ่งในสิ่งสำคัญที่ควรดูแลอย่างระมัดระวังในการลงทุนในเมียนมาก็คือเรื่องของการสื่อสาร การแปลความ และการโลคัลไลเซชันภาษาพม่า ซึ่งจะต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และใช้เทคนิคที่จำเป็นในการสื่อสารในประเทศนี้

ด้วยปัจจัยที่หลากหลาย ตั้งแต่การใช้ฟอนต์ที่ไม่อิงตามรูปแบบยูนิโคด (เช่น Zawgyi) โปรแกรม DTP ที่ไม่รองรับภาษาพม่า ลักษณะการเขียนที่ไม่มีวรรคตอนระหว่างคำ ตัวพยัญชนะที่ซ้อนกัน รวมถึงตัวพยัญชนะควบ และความสำคัญของคำศัพท์และการใช้หลักไวยากรณ์ที่เหมาะสมกับบริบท ปัจจัยเหล่านี้เป็นเพียงความท้าทายบางส่วนเท่านั้นหากต้องการทำโปรเจกต์โลคัลไลเซชันภาษาพม่า ฉะนั้น การเลือกพันธมิตรทางธุรกิจที่ผ่านการรับรองอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการแปลภาษาพม่า

ภาษาพม่า (หรือภาษาเมียนมา) จัดอยู่ในกลุ่มภาษาทิเบต-พม่าที่มาจากตระกูลภาษาจีน-ทิเบตอีกทีหนึ่ง ภาษานี้ถือเป็นภาษาแม่สำหรับประชากรถึงสามในสี่ของประเทศเมียนมา แม้ว่ารัฐธรรมนูญของเมียนมาจะกำหนดให้ชื่อภาษาทางการในภาษาอังกฤษเป็น 'ภาษาเมียนมา' ก็ตาม ผู้ใช้ภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ยังคงเรียกภาษานี้ว่า 'พม่า'

การแปลภาษา

  • ตรวจแก้ไขงาน
  • พิสูจน์อักษร
  • พัฒนาเอนจินโปรแกรมแปลภาษา
  • ตรวจแก้ไขงานแปลหลังการแปลด้วยโปรแกรมแปลภาษา
  • ออกแบบสิ่งพิมพ์
  • การพากย์เสียงและพากย์เสียงทับ
  • การทำคำบรรยายและคำบรรยายแบบปิด
  • การโลคัลไลเซชันเนื้อหา Flash และมัลติมีเดีย
  • การทดสอบเชิงภาษา
  • การทดสอบเชิงการใช้งาน
  • ล่าม

งานด้านผลิตภัณฑ์

  • เอกสาร
  • คู่มือด้านเทคนิค
  • สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับการตลาด
  • โบรชัวร์และแผ่นพับ
  • ฉลากและบรรจุภัณฑ์
  • นิตยสารและจดหมายข่าวสาร
  • เว็บไซต์
  • แอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือ
  • ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน
  • สื่อสำหรับการฝึกอบรมและอีเลิร์นนิ่ง
  • การพากย์เสียงและมัลติมีเดีย
  • เนื้อหาวิดีโอ

เกี่ยวกับภาษาพม่า

ภาษาพม่าคือภาษาที่มีลักษณะทวิภาษณ์ กล่าวคือ ภาษานี้มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างรูปแบบของภาษาพูดและภาษาเขียนในแง่ของการใช้คำศัพท์ หลักไวยากรณ์ และการออกเสียง ภาษาเขียนมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในหลายศตวรรษที่ผ่านมา ขณะที่ภาษาพูดสมัยใหม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเมื่อเทียบกับภาษาพม่าโบราณ แม้ว่าภาษาพม่าจะมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างรูปแบบภาษาเขียนกับภาษาพูด แต่ทั้งสองรูปแบบยังคงถูกบันทึกว่าเป็นภาษาเดียวกันที่มีลักษณะแตกต่างกัน

ภาษาเขียนของภาษาพม่าจะใช้อักษรสระประกอบ (คือตัวอักษรที่แต่ละพยัญชนะจะมีเสียงสระที่ประสมอยู่) ซึ่งอยู่ในตระกูลอักษรพราหมีและดัดแปลงมาจากอักษรมอญโบราณ หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของตัวอักษรนี้สามารถสืบย้อนไปได้ถึงปี ค.ศ. 1035 หลังจากนั้น ตัวอักขระก็ได้เพิ่มขึ้นโดยการนำเอาภาษาอื่นที่พูดกันในประเทศเมียนมาเข้ามารวมกัน เช่น ภาษามอญ ภาษากะเหรี่ยง ภาษาฉาน ภาษาปะหล่องรูไม รวมทั้งการถอดคำจากภาษาบาลีและสันสกฤต ตัวอักษรจะเริ่มเขียนจากซ้ายไปขวาโดยไม่มีวรรคตอนคั่นระหว่างคำ แต่ในรูปแบบการเขียนสมัยใหม่มักจะมีการใช้วรรคตอนเพื่อแบ่งวลีย่อย ๆ ออกจากกัน นอกจากนี้ ยังมีเครื่องหมายสองตัวที่ใช้สำหรับแบ่งวลีกับประโยคหลักอีกด้วย

ตัวอักษรพม่าค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจากประกอบด้วยพยัญชนะ 33 ตัว เครื่องหมายกำกับเสียงกลางพยัญชนะ 4 ตัวที่สามารถรวมกันได้สูงสุด 3 ตัว สระลอย 10 ตัว เครื่องหมายกำกับเสียงสระ 11 ตัว และเครื่องหมายกำกับเสียงผัน 5 ตัว นอกจากนี้ กลุ่มพยัญชนะบางตัวยังเขียนในลักษณะพยัญชนะควบที่ซ้อนกันอีกด้วย เมื่อพยัญชนะควบอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าตัวอักษรอื่น พยัญชนะเหล่านี้จะถูกเขียนโดยใช้อักขระที่แตกต่างกัน ตัวเลขที่ใช้งานทั่วไปมีทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบตะวันตก (สรุปเนื้อหาด้านบนยังไม่รวมอักขระเพิ่มเติม 108 ตัวที่ใช้เมื่อเขียนหรือถอดคำจากภาษาต่าง ๆ นอกเหนือจากภาษาพม่าเอง

พยัญชนะ

เครื่องหมายกำกับเสียงกลางพยัญชนะ*

สระลอย

เครื่องหมายกำกับเสียงสระ*

เครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์/สระ*

เครื่องหมายวรรคตอนและตัวอักษรไวยากรณ์

ตัวเลข

* เพื่อให้มั่นใจว่า

อักขระของเครื่องหมายกำกับเสียงจะแสดงผลอย่างถูกต้องในเบราว์เซอร์ทุกชนิด เราจึงนำอักขระมาแสดงผลคู่กับตัวอักษรนี้ .

ความท้าทายของการแปลและการโลคัลไลเซชันภาษาพม่า

  • ด้วยความที่ไม่มีวรรคตอนระหว่างคำทำให้ผู้ทำ DTP ไม่สามารถตัดบรรทัดได้อย่างถูกต้องหากไม่ใช่เจ้าของภาษา
  • ภาษาพม่าเป็นหนึ่งในภาษาที่มีความซับซ้อนในการสะกดคำมากที่สุด เนื่องจากมีตัวพยัญชนะที่ซ้อนกัน สระ และเครื่องหมายกำกับที่อยู่หน้า-หลัง รวมทั้งพยัญชนะควบ โปรแกรม DTP ส่วนมากไม่สามารถรองรับภาษานี้ได้อย่างปกติ ทำให้การใส่ข้อมูลมีความซับซ้อนมากขึ้น
  • ยังมีกรณีที่อักขระของพยัญชนะหนึ่งตัวมีบทบาทเป็นทั้งพยัญชนะตัวสุดท้ายของคำก่อนหน้า และเป็นพยัญชนะตัวเริ่มของคำถัดไปด้วย กรณีนี้ไม่พบบ่อย แต่อาจทำให้เกิดความสับสนในการนับจำนวนคำได้
  • เนื่องจากภาษาพม่ามีทั้งทำเนียบของภาษาพูดและภาษาเขียนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน การแปลภาษานั้นจึงต้องพิจารณาคำและไวยากรณ์อย่างเหมาะสมทั้งตามหัวข้อที่เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าด้วย ปัจจัยเหล่านี้มีความสำคัญสูงสุดในการผลิตสื่อพิมพ์สำหรับการตลาดและโฆษณา