บริการแปลภาษาเขมร

เพิ่มคุณค่าแบรนด์ของคุณในประเทศกัมพูชาด้วยประสบการณ์อันล้ำค่าและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในทุกช่องทางการสื่อสาร

โลคัลไลเซชันภาษาเขมร

ภาษาเขมร (กัมพูชา) ถือเป็นหนึ่งในบรรดาภาษาที่มีความซับซ้อนในการสะกดคำมากที่สุด ฉะนั้นการแปลความและการโลคัลไลเซชันภาษานี้จะทำโดยขาดประสบการณ์และเทคนิคที่จำเป็นไม่ได้ ถึงแม้ภาษานี้จะไม่ใช่ภาษาที่มีวรรณยุกต์เหมือนภาษาไทย พม่า หรือลาวก็ตาม แต่ภาษานี้ก็มีความคล้ายคลึงกันกับภาษาเพื่อนบ้านในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยจะมีลักษณะที่ไม่มีการแบ่งวรรคตอนระหว่างคำ อันเป็นเหตุให้การทำ DTP ต้องมาจากฝีมือของคนทำ DTP ชาวเขมรเท่านั้น

ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ โปรแกรม DTP หลาย ๆ ตัวยังไม่สามารถรองรับภาษาเขมรได้ตามปกติอีกด้วย ทำให้ต้องมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่บ่อยครั้ง ภาษาเขมรมีทำเนียบภาษาอยู่หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีการใช้งานแตกต่างกันตามสถานการณ์ ตามบริบทของสังคม ตามอายุ ตามเพศ และตามสถานะของผู้พูดกับกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย ปัจจัยเหล่านี้เป็นเพียงความท้าทายบางส่วนเท่านั้นหากตัดสินใจทำโปรเจกต์โลคัลไลเซชันภาษาเขมร ฉะนั้นการเลือกพันธมิตรทางธุรกิจที่ผ่านการรับรองอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการแปลภาษาเขมร

การแปลภาษา

  • ตรวจแก้ไขงาน
  • พิสูจน์อักษร
  • พัฒนาเอนจินโปรแกรมแปลภาษา
  • ตรวจแก้ไขงานแปลหลังการแปลด้วยโปรแกรมแปลภาษา
  • ออกแบบสิ่งพิมพ์
  • การพากย์เสียงและพากย์เสียงทับ
  • การทำคำบรรยายและคำบรรยายแบบปิด
  • การโลคัลไลเซชันเนื้อหา Flash และมัลติมีเดีย
  • การทดสอบเชิงภาษา
  • การทดสอบเชิงการใช้งาน
  • ล่าม

งานด้านผลิตภัณฑ์

  • เอกสาร
  • คู่มือด้านเทคนิค
  • สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับการตลาด
  • โบรชัวร์และแผ่นพับ
  • ฉลากและบรรจุภัณฑ์
  • นิตยสารและจดหมายข่าวสาร
  • เว็บไซต์
  • แอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือ
  • ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน
  • สื่อสำหรับการฝึกอบรมและอีเลิร์นนิ่ง
  • การพากย์เสียงและมัลติมีเดีย
  • เนื้อหาวิดีโอ

เกี่ยวกับภาษาเขมร

ภาษาเขมรจัดอยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมรของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ซึ่งมีอีกสองภาษาที่สำคัญที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันคือภาษาเวียดนามและภาษามอญ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ภาษานี้ต่างกับภาษาส่วนใหญ่ที่พูดกันในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือภาษาเขมรนี้ไม่ใช่ภาษาที่มีวรรณยุกต์ ภาษานี้ได้มีการพัฒนาขึ้นมาโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงหลักๆ ก็คือ 1. ภาษาเขมรโบราณสมัยก่อนเมืองพระนครที่ใช้ในช่วงปี ค.ศ. ศตวรรษที่ 9 2. ภาษาเขมรโบราณสมัยเมืองพระนครที่เป็นภาษาของจักรวรรดิเขมรที่ใช้กันจนถึงช่วงปี ค.ศ. กลางศตวรรษที่ 14 3. ภาษาเขมรโบราณสมัยกลางที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในแง่ของโครงสร้างภาษา การออกเสียง และคำศัพท์ที่ใช้กันจนถึงช่วงปี ค.ศ. ศตวรรษที่ 18 และ 4. ภาษาเขมรสมัยใหม่ที่เป็นรูปแบบภาษาที่ใช้กันในปัจจุบัน

ตัวอักษรเขมรเป็นตัวอักษรที่มีการดัดแปลงมาจากอักษรปัลลวะที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ศตวรรษที่ 3 เมื่อสืบต่อไปก็จะพบว่าสุดท้ายแล้วตัวอักษรนี้ก็เป็นสิ่งที่กลายมาจากตัวอักษรพราหมีเช่นเดียวกับตัวอักษรส่วนมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหลักฐานที่มีจะสามารถพบได้ย้อนไปจนถึงช่วงศตวรรษที่ 2 ก่อนเริ่มปี ค.ศ. ภาษานี้จะใช้อักษรสระประกอบที่เป็นระบบการเขียนที่สามารถนำพยัญชนะมารวมกับเสียงสระได้ ซึ่งเสียงสระนี้จะไม่มีการเขียนกำกับไว้ให้เห็น ภาษาเขมรจะเขียนจากทางซ้ายไปขวาโดยไม่มีวรรคตอนคั่นระหว่างคำ การแบ่งวรรคตอนจะใช้เป็นหลักในการแยกวลี ประโยค และรายการสิ่งของออกจากกัน

ตัวอักษรเขมรมีพยัญชนะ 35 ตัวโดยมี 2 ตัวที่เลิกใช้ไปแล้วในปัจจุบันและพยัญชนะแต่ละตัวมีอักขระอยู่สองแบบในรูปปกติและในรูปของตัวห้อย มีสระอยู่ด้วยกัน 2 ชุดโดยเป็นสระจม 25 ตัวที่ต้องนำไปผสมกับพยัญชนะเสมอและสระลอย 14 ตัว (หนึ่งใน 14 ตัวนี้จะมี 2 อักขระ) ที่อยู่โดด ๆ ในช่วงเริ่มของพยางค์ นอกจากนี้ยังมีเครื่องหมายกำกับเสียงอีก 13 ตัวที่ใช้ผันการออกเสียงหรือเสียงสูงต่ำอีกด้วย เครื่องหมายวรรคตอนในปัจจุบันใช้ผสมกันระหว่างอักขระของภาษาเขมรและอักขระของภาษาตะวันตก ( ? ! « » ) ตัวเลขของภาษาเขมรยังมีการใช้งานทั่วไปอยู่เหมือนเดิม โดยตัวเลขของภาษาตะวันตกก็มีการใช้เช่นกันแต่จะนิยมใช้น้อยกว่า

พยัญชนะ – รูปแบบปกติ

พยัญชนะ – รูปแบบตัวห้อย*

สระจม*

สระลอย

เครื่องหมายกำกับเสียง*

เครื่องหมายวรรคตอน

ตัวเลข

* เพื่อให้มั่นใจว่าอักขระของพยัญชนะตัวห้อย สระจม และเครื่องหมายกำกับเสียงจะแสดงผลอย่างถูกต้องในเบราว์เซอร์ทุกชนิด เราจึงนำอักขระมาแสดงผลคู่กับตัวอักษรนี้

ความท้าทายของการแปลและการโลคัลไลเซชันภาษาเขมร

  • ด้วยความที่ไม่มีวรรคตอนระหว่างคำทำให้ผู้ทำ DTP ไม่สามารถตัดบรรทัดได้อย่างถูกต้องหากไม่ใช่เจ้าของภาษา
  • ภาษาเขมรเป็นหนึ่งในบรรดาภาษาที่มีความซับซ้อนในการสะกดคำมากที่สุดเพราะตัวภาษาจะมีทั้งพยัญชนะลงท้าย สระกับเครื่องหมายกำกับที่อยู่หน้า-หลังรวมทั้งเป็นตัวยก-ตัวห้อย และรวมไปถึงพยัญชนะควบอีกด้วย ด้วยความซับซ้อนนี้ โปรแกรม DTP หลายตัวจึงไม่สามารถรองรับภาษาเขมรได้อย่างสมบูรณ์ แม้กระทั่งการป้อนข้อมูลด้วยคีย์บอร์ดก็มีความยุ่งยาก เพราะบางคำอาจต้องใช้มากถึง 7 ปุ่ม เพื่อให้ได้ตัวอักษรที่ถูกต้อง
  • ภาษาเขมรมีทำเนียบภาษาอยู่หลายแบบ เช่น มีการใช้คำศัพท์ที่ต่างกันไปตามสถานการณ์และบริบทของสังคม ตามอายุ ตามเพศ และรวมไปถึงสถานะของผู้พูด/ผู้เขียนต่อผู้ฟัง/ผู้อ่าน ภาษานี้มีทำเนียบภาษาหลัก ๆ อยู่ 4 อย่างคือ ภาษาราชวงศ์ ภาษาศาสนา ภาษาเขียน และภาษาพูด โดยภาษาเขียนกับภาษาพูดมีทำเนียบภาษาย่อยออกไปอีก
  • ศัพท์เฉพาะทางเทคนิคและทางวิทยาศาสตร์ส่วนมากมักนิยมใช้แบบทับศัพท์มากกว่าการแปลแต่ปัญหาคือมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับมาตรฐานการทับศัพท์เหล่านี้ค่อนข้างน้อย ทำให้การเขียนทับศัพท์ในภาษาเขมรมีความไม่แน่นอน เพราะไม่มีการกำหนดรูปแบบตายตัว