บริการแปลภาษาลาว

เพิ่มคุณค่าแบรนด์ของคุณในประเทศลาวด้วยประสบการณ์อันล้ำค่าและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในทุกช่องทางการสื่อสาร

EQHO มีบริการโลคัลไลเซชันและบริการแปลภาษาที่ครอบคลุม โดยมุ่งเน้นหลักในการช่วยให้คุณสร้างเอกสารและคู่มือออกมาอย่างมืออาชีพ บริการของเรารองรับแอปพลิเคชันสำหรับตีพิมพ์เอกสารได้เกือบทุกชนิด ทุกภาษาเป้าหมาย และทุกระดับความละเอียด

โลคัลไลเซชันภาษาลาว

การทำโลคัลไลเซชันภาษาลาวถือเป็นงานที่ท้าทายสำหรับบริษัทส่วนใหญ่ เนื่องจากภาษาลาวมีชุดตัวอักษรและวรรณยุกต์ที่ซับซ้อน ไม่มีวรรคตอนระหว่างคำ ใช้ฟอนต์ที่ไม่อิงตามรูปแบบยูนิโคด มีปัญหาเรื่องการตัดบรรทัดช่วงตีพิมพ์ และมีปริมาณเนื้อหาที่มากขึ้นเมื่อแปลจากภาษาอังกฤษ ปัจจัยเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของปัญหาบางส่วนที่พบ ซึ่งหากไม่มีการจัดการอย่างเชี่ยวชาญ อาจทำให้โปรเจกต์หยุดชะงักได้

ฉะนั้น การเลือกพันธมิตรทางธุรกิจที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการทำโลคัลไลเซชัน นอกจากที่ EQHO มีสำนักงานใหญ่ฝ่ายผลิตอยู่ในกรุงเทพฯ ที่มีกำลังคนถึง 110 คนแล้ว EQHO ยังมีสำนักงานฝ่ายผลิตแห่งที่สองอยู่ในใจกลางนครเวียงจันทน์ของ สปป.ลาวอีกด้วย ด้วยกำลังคนของเราและทีมขนาดใหญ่ของนักภาษาศาสตร์ในประเทศลาว ทำให้ EQHO เป็นตัวเลือกหลักที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการด้านการแปลภาษาและโลคัลไลเซชันของคุณได้ทั้งหมด

ไม่ว่าจะเป็นการแปลเชิงธุรกิจแบบมาตรฐานไปจนถึงข้อมูลเชิงเทคนิคที่ซับซ้อนที่สุด EQHO มีนักภาษาศาสตร์มากความสามารถที่พร้อมตอบโจทย์ความต้องการด้านการแปลภาษาของคุณได้แน่นอน

การแปลภาษา

  • ตรวจแก้ไขงาน
  • พิสูจน์อักษร
  • พัฒนาเอนจินโปรแกรมแปลภาษา
  • ตรวจแก้ไขงานแปลหลังการแปลด้วยโปรแกรมแปลภาษา
  • ออกแบบสิ่งพิมพ์
  • การพากย์เสียงและพากย์เสียงทับ
  • การทำคำบรรยายและคำบรรยายแบบปิด
  • การโลคัลไลเซชันเนื้อหา Flash และมัลติมีเดีย
  • การทดสอบเชิงภาษา
  • การทดสอบเชิงการใช้งาน
  • ล่าม

งานด้านผลิตภัณฑ์

  • เอกสาร
  • คู่มือด้านเทคนิค
  • สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับการตลาด
  • โบรชัวร์และแผ่นพับ
  • ฉลากและบรรจุภัณฑ์
  • นิตยสารและจดหมายข่าวสาร
  • เว็บไซต์
  • แอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือ
  • ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน
  • สื่อสำหรับการฝึกอบรมและอีเลิร์นนิ่ง
  • การพากย์เสียงและมัลติมีเดีย
  • เนื้อหาวิดีโอ

เกี่ยวกับภาษาลาว

ภาษาลาวจัดอยู่ในกลุ่มภาษาไทของตระกูลภาษาไท-กะได ภาษาสำคัญอื่น ๆ ที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไท ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาฉาน และภาษาจ้วง จากบรรดาภาษาเหล่านี้ ภาษาลาวถือเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาไทยมากที่สุด ทำให้ทั้งสองภาษาสามารถสื่อสารและเข้าใจกันได้เป็นส่วนใหญ่ ภาษาพูดที่ใช้กันในหมู่ประชากรส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (ภาคอีสาน) ก็ถือเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาลาวอีกด้วย

ตัวอักษรภาษาลาวสมัยใหม่มีการเปลี่ยนแปลงจากตัวอักษรไทน้อยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ภาษาลาวค่อย ๆ ถูกจัดให้เป็นมาตรฐานโดยกษัตริย์ของอาณาจักรล้านช้างตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 14 ในอดีต ชุดตัวอักษรที่ใช้จะเป็นรูปแบบของอักษรสระประกอบที่สามารถนำพยัญชนะมารวมกับเสียงสระได้ โดยเสียงสระนี้ไม่มีการเขียนกำกับไว้ให้เห็น แต่ในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงใหม่ให้มีการสะกดโดยกำกับเสียงสระทั้งหมดไว้ชัดเจน

ตัวอักษรภาษาลาวประกอบด้วยพยัญชนะ 27 ตัว ทวิอักษรของพยัญชนะ 3 ตัว และอักขระสระ 17 ตัว ซึ่งสามารถใช้แบบโดด ๆ หรือรวมกันกับอักขระสระตัวอื่นหรือพยัญชนะบางตัวเพื่อผันเป็นสระเดี่ยว สระสองเสียง และสระสามเสียงมากกว่า 40 แบบ นอกจากนี้ยังมีวรรณยุกต์ 4 ตัว และตัวอักษรอื่นที่ส่งผลต่อการออกเสียงหรือใช้กำกับเสียงซ้ำและอักษรย่ออีกด้วย แม้ในปัจจุบันจะมีการนำตัวเลขของภาษาตะวันตกมาใช้กันทั่วไป แต่ตัวเลขดั้งเดิมของภาษาลาวก็ยังมีการใช้อยู่ในการเขียนทางการ ภาษาลาวเขียนจากซ้ายไปขวาโดยไม่มีวรรคตอนคั่นระหว่างคำ การแยกวลี ประโยค และรายการสิ่งของ ทำได้โดยการใช้วรรคตอนเป็นหลัก

พยัญชนะ

ทวิอักษรของพยัญชนะควบ

สระ*

วรรณยุกต์*

อักขระอื่นๆ*

ตัวเลข

* เพื่อให้มั่นใจว่าสระ วรรณยุกต์ และอักขระตัดเสียงพยัญชนะจะแสดงผลอย่างถูกต้องในเบราว์เซอร์ทุกชนิด เราจึงนำอักขระมาแสดงผลคู่กับตัวอักษรนี้ .

ความท้าทายของการแปลและการโลคัลไลเซชันภาษาลาว

  • เนื่องจากไม่มีวรรคตอนระหว่างคำ ทำให้ผู้ทำ DTP ไม่สามารถตัดบรรทัดได้อย่างถูกต้องหากไม่ใช่เจ้าของภาษา นอกจากนี้ โปรแกรม DTP หลาย ๆ ตัวไม่สามารถรองรับการวางสระและวรรณยุกต์หลายชั้นได้
  • ภาษาลาวนิยมใช้ฟอนต์บางประเภทที่ไม่ได้อิงตามมาตรฐานยูนิโคด เช่น ฟอนต์ปะหลามลาว ฟอนต์ลาวใหม่ ฟอนต์ดาวเรือง ฯลฯ ฟอนต์เหล่านี้มักถูกนำมาใช้รวมกับฟอนต์ยูนิโคดในภาษาลาว ซึ่งการแยกระหว่างฟอนต์ยูนิโคดและฟอนต์ที่ไม่ใช่ยูนิโคดนั้นทำได้ยากหากไม่ใช่เจ้าของภาษา
  • ภาษาลาวมีทำเนียบภาษาอยู่หลายแบบ ซึ่งการใช้ภาษาจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ บริบททางสังคม อายุ เพศ และสถานะของผู้พูด/ผู้เขียนต่อผู้ฟัง/ผู้อ่าน ทำเนียบภาษาเหล่านี้เปรียบเสมือนกรอบที่กำหนดรูปแบบและวิธีการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ โดยภาษาลาวมีทำเนียบภาษาหลัก ๆ อยู่ 4 ประเภท คือ ภาษาราชวงศ์ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)ภาษาศาสนา ภาษาเขียน และภาษาพูด โดยภาษาเขียนและภาษาพูด ยังมีทำเนียบภาษาย่อยออกไปอีก
  • ศัพท์เฉพาะทางเทคนิคและทางวิทยาศาสตร์ส่วนมากมักนิยมใช้แบบทับศัพท์มากกว่าการแปลแต่ปัญหาคือมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับมาตรฐานการทับศัพท์เหล่านี้ค่อนข้างน้อย ทำให้การเขียนทับศัพท์ในภาษาลาวมีความไม่แน่นอน เพราะไม่มีการกำหนดรูปแบบตายตัว
  • ภาษาลาวมีระบบไวยากรณ์ที่ลึกซึ้งและซับซ้อน โดยมีรูปแบบการบรรยายที่ละเอียดสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อเราแปลภาษาลาวเป็นภาษาอื่น ๆ หรือจากภาษาอื่น ๆ เป็นภาษาลาว อาจส่งผลให้เนื้อหาในภาษาปลายทางเพิ่มขึ้นหรือย่อลงได้อย่างมาก