บริการแปลภาษาอาหรับ

เพิ่มคุณค่าแบรนด์ของคุณในประเทศอาหรับด้วยประสบการณ์อันล้ำค่าและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในทุกช่องทางการสื่อสาร

โลคัลไลเซชันภาษาอาหรับ

แม้ว่าภาษาอาหรับจะเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับห้าของโลก แต่กลับเป็นหนึ่งในภาษาที่ได้รับการแปลและปรับให้เข้ากับท้องถิ่น (โลคัลไลเซชัน) น้อยที่สุด ส่งผลให้มีเนื้อหาที่เป็นภาษาอาหรับในสื่อสาธารณะอยู่ในปริมาณจำกัด ด้วยจำนวนผู้พูดภาษาอาหรับที่มีมากกว่า 400 ล้านคน (ทั้งเจ้าของภาษาและไม่ใช่เจ้าของภาษา) จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการขยายตลาดไปสู่กลุ่มผู้บริโภคชาวอาหรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มนี้ โดยพบว่ากว่าร้อยละ 70 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวอาหรับเลือกท่องเว็บไซต์ที่นำเสนอเนื้อหาเป็นภาษาอาหรับเท่านั้น และมากกว่าร้อยละ 50 จะทำการซื้อสินค้าหรือบริการเฉพาะจากเว็บไซต์ที่ใช้ภาษาอาหรับ

อย่างไรก็ตาม การโลคัลไลเซชันภาษาอาหรับนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ขาดความรู้และความเชี่ยวชาญในภาษานี้ ในวงการอุตสาหกรรมโลคัลไลเซชัน ภาษาอาหรับได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในภาษาที่ยากที่สุดในการทำโลคัลไลเซชัน รองจากภาษาญี่ปุ่น นอกจากภาษาอาหรับมีรูปแบบการเขียนจากขวาไปซ้ายแล้วยังมีระบบพยัญชนะควบที่ซับซ้อนและการใช้เครื่องหมายกำกับเสียงที่มีความละเอียดอ่อน ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการแปลและการจัดรูปแบบ ด้วยความท้าทายเหล่านี้ การออกแบบสิ่งพิมพ์และงานมัลติมีเดียในภาษาอาหรับจึงจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญและเจ้าของภาษา เนื่องจากซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันส่วนใหญ่ยังไม่สามารถรองรับการทำงานกับภาษาที่เขียนจากทางขวาไปซ้ายได้อย่างสมบูรณ์

เนื่องจากภาษาอาหรับมีความแตกต่างระหว่างรูปแบบการเขียนและการพูด ดังนั้น การแปลเป็นภาษาอาหรับจึงต้องพิจารณาเลือกใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่เหมาะสมกับบริบทของเนื้อหาและลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานด้านการโฆษณาและการตลาด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำงานร่วมกับนักแปลมืออาชีพที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์หรือดิจิทัลที่เป็นภาษาอาหรับยังต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่น ๆ อย่างรอบด้าน ได้แก่ การจัดวางหน้า การเลือกใช้สี ภาพประกอบ และองค์ประกอบกราฟิกต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับภาษาและบริบททางวัฒนธรรมอาหรับอย่างเหมาะสม

การบันทึกเสียงพากย์ในภาษาอาหรับนับเป็นความท้าทายสำคัญ เนื่องจากความหลากหลายของสำเนียงที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ นักพากย์จำเป็นต้องใช้ภาษาถิ่นที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของลูกค้า ด้วยเหตุนี้ ผู้ให้บริการด้านภาษาและลูกค้าจึงต้องเตรียมการอย่างรอบคอบและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด โดยต้องศึกษาและระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน หากต้องการสื่อสารกับผู้พูดภาษาอาหรับในวงกว้าง ผู้ให้บริการด้านภาษาควรเลือกนักพากย์ที่ใช้ภาษาอาหรับกลางมาตรฐาน (Modern Standard Arabic หรือ MSA) โดยมีสำเนียงเฉพาะถิ่นน้อยที่สุด

นี่เป็นเพียงความท้าทายบางส่วนที่มีในการทำโลคัลไลเซชันภาษาอาหรับเท่านั้น ดังนั้นการเลือกพันธมิตรด้านโลคัลไลเซชันที่มีประสบการณ์ในภาษาอาหรับและมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในปัญหาต่าง ๆ ของการโลคัลไลเซชันภาษาอาหรับจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

การแปลภาษา

  • ตรวจแก้ไขงาน
  • พิสูจน์อักษร
  • พัฒนาเอนจินโปรแกรมแปลภาษา
  • ตรวจแก้ไขงานแปลหลังการแปลด้วยโปรแกรมแปลภาษา
  • การจัดรูปแบบสิ่งพิมพ์
  • การพากย์เสียงและพากย์เสียงทับ
  • การทำคำบรรยายและคำบรรยายแบบปิด
  • การโลคัลไลเซชันเนื้อหา Flash และมัลติมีเดีย
  • การทดสอบเชิงภาษา
  • การทดสอบเชิงการใช้งาน
  • ล่าม

งานด้านผลิตภัณฑ์

  • เอกสาร
  • คู่มือด้านเทคนิค
  • สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับการตลาด
  • โบรชัวร์และแผ่นพับ
  • ฉลากและบรรจุภัณฑ์
  • นิตยสารและจดหมายข่าวสาร
  • เว็บไซต์
  • แอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือ
  • ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน
  • สื่อสำหรับการฝึกอบรมและอีเลิร์นนิ่ง
  • การพากย์เสียงและมัลติมีเดีย
  • เนื้อหาวิดีโอ

เกี่ยวกับภาษาอาหรับ

ภาษาอาหรับจัดอยู่ในกลุ่มภาษาเซมิติกของตระกูลแอโฟร-เอเชียติก โดยภาษาอาหรับถือเป็นภาษาที่มีจำนวนผู้พูดมากที่สุดในกลุ่มนี้ โดยมีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากกว่า 200 ล้านคน ภาษาที่สำคัญอื่น ๆ ในกลุ่มภาษาเซมิติกได้แก่ ภาษาอามฮารา และภาษาติกริญญา (สองภาษานี้ใช้พูดกันในประเทศเอธิโอเปีย) และภาษาฮีบรู

ภาษาอาหรับในปัจจุบัน ทั้งในรูปแบบภาษาเขียนและภาษาพูด มีรากฐานมาจากภาษาอาหรับคลาสสิกที่ใช้ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภาษาอาหรับกลางมาตรฐาน (MSA) เป็นภาษาวรรณกรรมที่ใช้อย่างแพร่หลายในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ MSA มีสถานะเป็นภาษาทางการในทุกประเทศอาหรับ และเป็นหนึ่งในหกภาษาทางการของสหประชาชาติ นอกจากนี้ MSA ยังเป็นภาษาหลักที่ใช้ในระบบการศึกษาของประเทศอาหรับ โดยเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

ภาษาพูดในภาษาอาหรับประกอบด้วยกลุ่มภาษาถิ่นประจำภูมิภาคและภาษาถิ่นประจำชาติหลายรูปแบบ ประชากรในแต่ละพื้นที่จะใช้ภาษาถิ่นของตัวเองและยังสามารถใช้สื่อสารกับประชากรในภูมิภาคหรือประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาอาหรับได้เข้าใจเช่นกัน ส่วนภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ (MSA)ได้ถูกนำมาสอนในโรงเรียนภายหลัง ซึ่งความแตกต่างระหว่างคำศัพท์ ไวยากรณ์ และการออกเสียงระหว่างภาษาถิ่นกับภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ ทำให้เกิดการใช้ภาษาแบบทวิภาษณ์ และยังมีการสลับภาษาไปมาระหว่างภาษาถิ่นของภูมิภาคกับ MSA หรือใช้สองรูปแบบของภาษาในประโยคเดียวกันอีกด้วย

ภาษาอาหรับเขียนจากขวาไปซ้ายในรูปแบบตัวเขียน การเขียนระบบนี้เป็นตัวอักษร abjad ที่แต่ละตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะ (อักษรไร้สระ) โดยมีเสียงสระที่เชื่อมโยงกันจะถูกตีความโดยผู้อ่าน แม้ว่าภาษาอาหรับจะมีเครื่องหมายกำกับเสียงสั้น แต่แทบไม่ได้ถูกนำไปใช้ในการเขียนทั่วไป การเขียนสระเสียงยาวตามปกติทำให้อักษรอาหรับไม่ถือเป็นอักษรไร้สระ 'ที่แท้จริง' ระบบการเขียนแบบนี้เหมาะสมกับภาษาอาหรับเพราะโดยทั่วไปรากของคำมักจะประกอบด้วยพยัญชนะสามตัว และการใช้เสียงสระร่วมกับพยัญชนะเหล่านั้นซึ่งจะให้ความหมายเฉพาะ ตัวอย่างเช่น คำว่า book, books, writer, writing, copy, correspond, dictate และอื่น ๆ ล้วนมาจากรากศัพท์พยัญชนะ 'k-t-b' เดียวกัน

ภาษาอาหรับมีตัวอักษรพื้นฐาน 28 ตัว ทว่าตัวอักษรภาษาอาหรับที่ดัดแปลงไปใช้ในภาษาอื่น เช่น ภาษาฟาร์ซี ภาษาอูรดู ภาษามาเลย์ และอื่น ๆ มีตัวอักษรเพิ่มเข้ามา ด้วยความที่ภาษาอาหรับมีการเขียนในรูปแบบโค้งทำให้แต่ละตัวอักษรสามารถมีได้มากถึง 4 รูปแบบ คือ แยกต่างหาก เริ่มต้น กึ่งกลาง และปิดท้าย ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตัวอักษรอยู่ภายในคำและตัวอักษรอีกตัว (กรณีที่มี) ที่อยู่ก่อนและ/หรืออยู่หลัง

  • ในการทำ DTP หรือการจัดรูปแบบสิ่งพิมพ์ภาษาอาหรับมีความซับซ้อนเนื่องจากโปรแกรมซอฟต์แวร์ส่วนมากไม่สามารถรองรับภาษาที่เขียนจากขวาไปซ้ายได้ตามปกติ นอกจากนี้ การรองรับพยัญชนะควบและการวางตำแหน่งสระเสียงสั้นหรือเครื่องหมายกำกับเสียงอื่น ๆ ให้ถูกต้องอาจกลายเป็นปัญหาได้ ด้วยปัจจัยเหล่านี้ จึงควรให้เจ้าของภาษาเป็นผู้ทำ DTP จะดีที่สุด

 

  • ภาษาอาหรับมีความแตกต่างชัดเจนระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน ส่งผลให้การแปลต้องพิจารณาหลายปัจจัย ได้แก่ การเลือกใช้คำศัพท์ที่เหมาะสม การใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้องตามบริบท ความสอดคล้องกับหัวข้อหรือเนื้อหาที่นำเสนอ และการปรับให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย ปัจจัยเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในการผลิตสื่อเพื่อการตลาดและการโฆษณา

 

  • การบันทึกเสียงพากย์ในภาษาอาหรับจำเป็นต้องพิจารณากลุ่มเป้าหมายอย่างรอบคอบ สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ควรใช้นักพากย์ที่พูดภาษาถิ่นประจำภูมิภาคหรือภาษาท้องถิ่นของกลุ่มนั้น สำหรับกลุ่มเป้าหมายทั่วไป นักพากย์อาจใช้ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ (MSA) ได้ ซึ่งการเลือกภาษาและสำเนียงที่เหมาะสมนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและสร้างความน่าเชื่อถือกับผู้ฟัง ทำให้เนื้อหาที่นำเสนอมีความน่าสนใจและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

ความท้าทายของการแปลและการโลคัลไลเซชันภาษาอาหรับ