บริการแปลภาษามาเลย์

เพิ่มคุณค่าแบรนด์ของคุณในประเทศมาเลเซียด้วยประสบการณ์อันล้ำค่าและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในทุกช่องทางการสื่อสาร

โลคัลไลเซชันภาษามาเลย์

หากพิจารณาจากมุมมองของการทำโลคัลไลเซชัน ภาษามาเลย์ถือเป็นภาษาที่มีความซับซ้อนไม่มากนัก ภาษามาเลย์มีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาอินโดนีเซีย โดยใช้ตัวอักษรละตินซึ่งสามารถทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มและโปรแกรมส่วนใหญ่ได้อย่างราบรื่น นอกเหนือจากการตรวจสอบการใช้คำศัพท์ให้เหมาะสมกับผู้เขียน หัวข้อ และกลุ่มเป้าหมายแล้ว การทำโลคัลไลเซชันภาษามาเลย์ไม่ถือว่าเป็นงานที่ท้าทายมากนัก หากคุณร่วมงานกับนักแปลภาษามาเลย์ที่มีความเป็นมืออาชีพและเชี่ยวชาญในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ประเด็นหนึ่งที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษคือการพากย์เสียงภาษามาเลย์ เนื่องจากในประเทศมาเลเซียมีสำเนียงและภาษาถิ่นหลากหลาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกนักพากย์ เพื่อให้มั่นใจว่าเสียงพากย์นั้นเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย

การแปลภาษา

  • ตรวจแก้ไขงาน
  • พิสูจน์อักษร
  • พัฒนาเอนจินโปรแกรมแปลภาษา
  • ตรวจแก้ไขงานแปลหลังการแปลด้วยโปรแกรมแปลภาษา
  • การจัดรูปแบบสิ่งพิมพ์
  • การพากย์เสียงและพากย์เสียงทับ
  • การทำคำบรรยายและคำบรรยายแบบปิด
  • การโลคัลไลเซชันเนื้อหา Flash และมัลติมีเดีย
  • การทดสอบเชิงภาษา
  • การทดสอบเชิงการใช้งาน
  • ล่าม

งานด้านผลิตภัณฑ์

  • เอกสาร
  • คู่มือด้านเทคนิค
  • สื่อสิ่งพิมพ์สำหรับการตลาด
  • โบรชัวร์และแผ่นพับ
  • ฉลากและบรรจุภัณฑ์
  • นิตยสารและจดหมายข่าวสาร
  • เว็บไซต์
  • แอปพลิเคชันสำหรับโทรศัพท์มือถือ
  • ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน
  • สื่อสำหรับการฝึกอบรมและอีเลิร์นนิ่ง
  • การพากย์เสียงและมัลติมีเดีย
  • เนื้อหาวิดีโอ

เกี่ยวกับภาษามาเลย์

ภาษาที่ใช้ในประเทศมาเลเซีย หรือที่เรียกกันว่าภาษามาเลเซียหรือภาษามลายูนั้น จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและถือเป็นภาษามาตรฐานของภาษามาเลย์ มักเกิดความสับสนเกี่ยวกับความหมายของชื่อภาษามาเลเซีย ภาษามลายู และภาษาอินโดนีเซีย ในมาเลเซียไม่ได้มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างภาษามาเลเซียกับภาษามลายู (ในปี พ.ศ. 2529 มีการเปลี่ยนชื่อทางการเป็นภาษามลายู แต่ในปี พ.ศ. 2550 ได้เปลี่ยนกลับมาเป็นภาษามาเลเซียอีกครั้ง เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำหรับประชากรทุกชาติพันธุ์) ส่วนคำว่าภาษาอินโดนีเซียนั้น หมายถึงภาษามาตรฐานของภาษามาเลย์ที่ใช้เป็นภาษาประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย

อย่างไรก็ตาม ในประเทศอินโดนีเซียมีการแบ่งแยกระหว่างภาษาทั้งสามนี้อย่างชัดเจน กล่าวคือ ภาษาอินโดนีเซียหมายถึงภาษามาตรฐานของภาษามาเลย์ที่ใช้เป็นภาษาประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย ภาษามาเลเซียหมายถึงภาษามาตรฐานของภาษามาเลย์ที่ใช้เป็นภาษาประจำชาติของประเทศมาเลเซีย และภาษามลายูถือเป็นภาษาพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์มาเลย์ที่อาศัยอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า สถาบันภาษาและวรรณกรรมของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไนได้ร่วมมือกันในการพัฒนาภาษามาตรฐานของภาษามาเลย์ให้เป็นภาษาประจำชาติของแต่ละประเทศ

ภาษามาเลเซียมีคำยืมจากหลายภาษา ได้แก่ ภาษาสันสกฤต ทมิฬ/เตลูกู กรีก ละติน โปรตุเกส ดัตช์ ภาษาถิ่นจีนบางภาษา อาหรับ (สำหรับคำศัพท์ทางศาสนา) และล่าสุดคือภาษาอังกฤษ (สำหรับคำศัพท์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

ตัวอักษรละตินที่เรียกว่าอักษรรูมีถูกนำเข้ามาในช่วงศตวรรษที่ 16 และปัจจุบันเป็นระบบการเขียนทางการเพียงระบบเดียว หลังการปรับปรุงครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2515 อักษรรูมีประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ 26 ตัว (A ถึง Z) นอกจากนี้ยังมีสระประสม 3 ตัว (ai, au, oi) และพยัญชนะควบ 5 ตัว (gh, kh, ng, ny, sy) ซึ่งไม่ถือเป็นตัวอักษรแยกต่างหาก อย่างไรก็ตาม ตัวอักษรยาวีดั้งเดิมซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของอักษรอาหรับยังคงใช้อย่างแพร่หลายในมาเลเซีย แม้ไม่ได้เป็นตัวอักษรทางการเหมือนในบรูไน ความนิยมของตัวอักษรยาวีสะท้อนให้เห็นจากโปรแกรมซอฟต์แวร์จำนวนมากที่สามารถถอดคำระหว่างระบบการเขียนทั้งสองได้โดยอัตโนมัติ ตัวอักษรยาวีเขียนจากขวาไปซ้ายและประกอบด้วยตัวอักษร 40 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่มีรูปแบบแยกต่างหาก รูปแบบเริ่มต้น รูปแบบกลาง และรูปแบบท้ายที่ชัดเจน เพื่อความกระชับ เราจะแสดงเฉพาะรูปแบบแยกต่างหากด้านล่างนี้

ความท้าทายของการแปลและการโลคัลไลเซชันภาษามาเลย์

  • ในการแปลข้อความภาษามาเลเซีย สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักคือความแตกต่างระหว่างภาษาทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งมีการใช้คำศัพท์ที่ต่างกัน รวมถึงมีความแตกต่างทางไวยากรณ์บางประการ นอกจากนี้ ยังมีภาษาถิ่นประจำภูมิภาคอีกหลากหลายที่ควรพิจารณา ความท้าทายหลักในการทำโลคัลไลเซชันคือการตรวจสอบให้แน่ใจว่าระดับภาษาและ/หรือภาษาถิ่นที่เลือกใช้นั้นเหมาะสมกับทั้งหัวข้อและกลุ่มผู้อ่านเป้าหมาย
  • สำหรับการทำโลคัลไลเซชันด้านเสียง เนื่องจากมีภาษาถิ่นประจำภูมิภาคจำนวนมาก การคัดเลือกนักพากย์จึงต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายด้วยเช่นกัน